Loading...
Skip to Content

รักษาฝ้า

รู้เรื่อง "ฝ้า"

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝ้าบนใบหน้า มาจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวีจากแสงแดด เพราะแสงแดดเข้ากระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ให้ผลิตเม็ดสีเมลานินซึ่งมีหน้าที่กรองรังสี UV เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย จึงเกิดเป็นฝ้าในที่สุด และนอกจากแสงแดดแล้ว เรื่องของการใช้เครื่องสำอางบางชนิด การทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด รวมไปถึงฮอร์โมนและกรรมพันธุ์ ก็เป็นสาเหตุของการเกิดฝ้าได้เช่นกัน

1. ฝ้าแดด

ฝ้าแดด ฝ้าแดง ที่เกิดจากแสงแดด เป็นผลจากรังสียูวีเอและยูวีบี เพราะรังสีอัลตราไวโอเลตเหล่านี้เป็นรังสีที่มีความเข้มข้นสูง เป็นรังสีที่มีคลื่นความยาวสูงทำให้ทำลายผิวได้ลึก กระตุ้นการผลิตเม็ดสีภายในผิวหนัง ทำให้ผิวหน้าคล้ำเสีย หน้าหมองคล้ำ และเกิดเป็นฝ้าแดดได้

แม้เราจะเลี่ยงไม่โดนแดดแล้ว รังสีดังกล่าวก็ยังพบได้ในแสงจากหน้าจออุปกรณ์อย่างคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หลอดไฟต่างๆ ก็ยังสามารถกระตุ้นผิวหนังให้ผลิตเม็ดสีคล้ำเสียได้เช่นเดียวกับแสงแดด และการโดนหลังรังสีเหล่านี้บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จะทำให้เม็ดสีผิวเข้มขึ้น ฝ้าเข้มขึ้นชัดกว่าเดิม ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษามากกว่าเดิม

2. ฝ้าเลือด

ฝ้าเลือดเป็นปื้นสีแดง เกิดจากระบบเลือดลมและฮอร์โมนในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างผิดปกติ หรืออาจจะเกิดจากการใช้ยาบางประเภทอย่างยาเกี่ยวกับฮอร์โมน หรือยาที่ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยทำงานผิดปกติ หากโดนความร้อนหรือแสงแดดฝ้าเลือดอาจจจะมีสีแดงมากกว่าเดิม

3. ฝ้าตื้น

ฝ้าแบบตื้นจะมีลักษณะสีน้ำตาลเข้ม เห็นขอบได้ชัด เป็นชนิดฝ้าที่เกิดได้ง่าย และรักษาให้จางลงได้ง่าย เพราะฝ้าตื้นเกิดในระดับชั้นผิวหนังกำพร้า หรือผิวหนังชั้นนอก ถึงแม้ฝ้าชนิดนี้จะรักษาได้ง่าย แต่การลดฝ้า กระ จุดด่างดําตามธรรมชาตินั้นทำได้ยากมาก ถึงอย่างไรก็จำเป็นต้องรักษาให้มีสีจางลงด้วยยาทาฝ้าอยู่ดี และเพิ่มการป้องกันการเกิดฝ้าด้วยครีมกันแดดเสริม

4. ฝ้าลึก

ฝ้าแบบลึกจะมีสีอ่อน อาจเป็นสีน้ำตาล เทา หรือม่วงก็ได้ เห็นขอบไม่ชัดเจนมากนักเนื่องจากอยู่ในชั้นผิวหนังที่ลึกลงไปทำให้มีความจางมากกว่า เป็นฝ้าที่รักษาให้หายได้ยาก เพราะเกิดในชั้นผิวที่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า จนเกิดความผิดปกติในระดับผิวหนังแท้

5. ฝ้าแบบผสม

บางคนก็อาจจะเป็นฝ้าเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่บางคนอาจจะเป็นฝ้าผสมหลายแบบ ซึ่งจะเป็นการผสมของฝ้าทั้งสองแบบ ลักษณะจะเป็นสีเข้ม แต่ขอบจาง ต้องรักษาด้วยวิธีหลายแบบรวมกันทั้งฝ้าลึก และฝ้าตื้น

บริเวณใดที่พบฝ้าได้บ่อย

บริเวณผิวที่มักเป็นฝ้าส่วนมากจะอยู่ที่ผิวหน้า เนื่องจากเป็นจุดที่โดนแสงแดดค่อนข้างบ่อยเลยทำให้หน้าเป็นฝ้า โดยเฉพาะบริเวณ

  • ฝ้าหน้าผาก
  • ฝ้าที่จมูก
  • ฝ้าตรงโหนกแก้ม
  • ฝ้าเหนือริมฝีปาก ฝ้าหนวด

แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่บริเวณใบหน้าเท่านั้น แต่บริเวณใดในร่างกายที่โดนแดดก็สามารถเกิดฝ้าขึ้นได้ ทั้งตามลำตัว ไม่ว่าจะบริเวณแขน หรือบริเวณอื่น ๆ ที่ผิวโดนแสงแดดกระทบค่อนข้างบ่อยด้วย

วิธีรักษาฝ้า

  1. ป้องกันแสงแดด เพราะรังสียูวีจากแสงแดดคือตัวการสำคัญ ดังนั้นต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรง และทาครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้ง UVA และ UVB และมีค่า SPF มากกว่า 30 ขึ้นไป รวมถึงต้องมีค่า PA มากกว่า 2+ ขึ้นไป ทั้งนี้สาวๆ ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปจนไม่ทั่วถึง และควรทาซ้ำทุก 2 ชม. หากออกแดดจัดหือทาตอนกลางวันเพิ่มในชีวิตประจำวัน
  2. อาหารที่มีวิตามิน A, C, E ต้านอนุมูลอิสระ การดูแลสุขภาพผิวจากภายใน ด้วยการเลือกรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี เช่น ลูกพรุน องุ่น ผลไม้ชนิดเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม ส่วนผักก็ได้แก่ ผักบุ้ง บรอกโคลี ผักขม จะช่วยทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น ป้องกันไม่ให้ฝ้าลุกลามไปมากกว่านี้
  3. การทาครีมบำรุง การทาครีมบำรุงที่มีส่วนช่วยในการรักษาฝ้านั้น โดยมีส่วนผสมของ วิตามินซี กรดโคจิก และ สาร AHA จะทำให้ผิวหน้าดูขาวกระจ่างใสขึ้น ฝ้าบนผิวหน้าแลดูจางลง ซึ่งการทาครีมบำรุงเป็นวิธีที่ต้องใช้ความสม่ำเสมอและอาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะเห็นผล
  4. รักษาฝ้าด้วยวิธีธรรมชาติ นอกจากการทานอาหาร หรือการใช้ครีมบำรุงแล้ว สาวๆ อาจอยากทดลองบำรุงรักษาฝ้าด้วยวิธีธรรมชาติ ด้วยการใช้มะขามเปียกมาทาหรือพอกบางๆ บริเวณที่เป็นฝ้า พอกทิ้งไว้เพียง 3-5 นาที แล้วล้างออก จะช่วยลดรอยด่างดำ ช่วยผลัดเซลล์ผิว และยังทำให้หน้าดูขาวกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายการใช้สารสกัด AHA แต่อาจจะไม่สะดวก
  5. ลดฝ้าด้วยวิธีผลไม้ หรือ AHA (Alpha Hydroxy Acid) เป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่สกัดจากผลไม้ธรรมชาติ เช่น กรดซิตริกจากมะนาว ส้ม และส้มโอ กรดมัลลิกจาก แอปเปิ้ล กรดไกลโคลิกจากอ้อย กรดแล็กติกจากนมเปรี้ยว กรดทาร์ทาลิกจากมะขาม และไวน์ โดยเราใช้กรด AHA เหล่านี้ ในการขจัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออกไป เพื่อเร่งการสร้างเซลล์ผิวใหม่ให้ขึ้นมาแทนที่ จึงทำให้ฝ้าบนผิวหน้าแลดูจางลง ทั้งนี้การลดฝ้าด้วยวิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ เพื่อประสิทธิภาพที่ดี
  6. รักษาด้วยการเลเซอร์ Super SR Applicator เป็นฟังก์ชั่นของเทคโนโลยีสุดทันสมัยอย่าง eLos Plus Super Triniti ที่จะมาฟื้นฟูผิวให้กลับมาอ่อนเยาว์อีกครั้ง โดยปล่อยพลังงานแสงความเข้มสูง (IPL) ที่มีความยาวคลื่น 580-980 นาโนเมตร ทำงานร่วมกับคลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) เพื่อทำลายเม็ดสีที่มีความผิดปกติ ช่วยให้ฝ้าจางลง รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาที่เกิดความผิดปกติของเส้นเลือดบนใบหน้า เช่น รอยแดง รอยแดงจากสิว มีเส้นเลือดฝอยผิดปกติ เป็นต้น ในระยะแรกของการรักษาแนะนำให้ทำติดต่อกันประมาณ 3-5 ครั้ง ทุก 2-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ การรักษาฝ้าเป็นการดูแลและปกป้องผิวในระยะยาว แนวทางที่ได้ผลที่ดีสุด คือ เลี่ยงไม่ให้เกิดฝ้า ด้วยการการทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่ต้องออกไปนอกบ้าน และหากจำเป็นต้องได้รับหัตถการในการดูแลผิวด้วยเลเซอร์ ก็จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแลด้านปัญหาผิวพรรณโดยเฉพาะ

วิธีป้องกันฝ้า

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดฝ้าคือแสงแดด ซึ่งนอกจากผลกระทบในรูปของฝ้า กระ จุดด่างดำ แสงแดดยังส่งผลให้ผิวแก่กว่าวัย เกิดริ้วรอยได้ง่าย ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานานสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดฝ้าได้
  2. หลีกเลี่ยงตัวยาที่ส่งผลต่อการเกิดฝ้า หากเป็นผู้ที่มีปัญหาผิวเรื่องฝ้าอยู่แล้ว ควรมีการปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาบางประเภทเนื่องจากตัวยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดฝ้ามากขึ้น หรือเข้มกว่าเดิมได้
  3. ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน นอกจากจะเป็นการช่วยป้องกันแสงแดดแล้ว ครีมกันแดดบางตัวยังมีส่วนช่วยในการลดการเกิดฝ้าไ้อีกด้วย แนะนำของ Bioderma เป็นครีมกันแดดช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดสีเมลานินเช้มขึ้น ดังนั้นจะทำให้ไม่เป็นฝ้ามากขึ้น การทาครีมกันแดดสามารถช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงแดดได้ โดยควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF ค่า PA ที่ได้มาตรฐาน

กระ มีกี่ชนิด? และกระเกิดจากอะไร ?

กระแต่ละชนิดมีลักษณะและสาเหตุการเกิดกระบนใบหน้าที่แตกต่างกันออกไป แบ่งได้ 4 ชนิด

  1. กระตื้น

    กระตื้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มักพบบริเวณที่สัมผัสแดดมาก เช่น โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง , จมูก ในบางรายกระอาจกระจายทั่วหน้า ลำคอ แขน และหน้าอก เป็นต้น โดยส่วนมากจะพบบ่อยในชาวยุโรป กระตื้น เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุที่เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกตินั้นส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม ทำให้เซลล์เม็ดสีมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ ทำให้เกิดกระบนในหน้าตั้งแต่เด็ก ประกอบกับการสัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำโดยไม่มีการป้องกันแสงแดด ก็มีโอกาสทำให้กระเข้มขึ้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายใหญ่ขึ้นด้วย
  2. กระลึก

    กระลึก มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ดำ ขอบไม่ชัด มองเผินๆ คล้ายฝ้า มักพบบริเวณ โหนกแก้ม ดั้งจมูก ขมับทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น โดยกระชนิดนี้พบบ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะในคนญี่ปุ่น จีน และไทย กระลึก เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีบริเวณชั้นหนังแท้ โดยจะพบตั้งแต่แรกเกิด และถูกกระตุ้นโดยรังสี UV จากแสงแดด ร่วมกับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นช่วงวัยรุ่นหรือช่วงตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้นก็มีส่วนทำให้กระเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
  3. กระเนื้อ

    กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม พบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง โดยอาจขึ้นเป็นตุ่มเนื้อเล็กๆ แล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น นูน และมีสีเข้มขึ้น โดยมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า กระเนื้อ เกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเจริญเติบโตมากผิดปกติ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกระ คือแสงแดดและอายุที่มากขึ้น โดยยิ่งมีอายุมากขึ้น ขนาดก็จะใหญ่ขึ้นและจำนวนก็มากขึ้น
  4. กระแดด

    กระแดด มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นเรียบๆ สีน้ำตาลหรือสีดำขนาดเล็ก ขอบชัด พบบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ เช่น ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ส่วนใหญ่เกิดในผู้ที่มีผิวขาวและมีอายุค่อนข้างมาก กระแดด เกิดจากการได้รับแสงแดดแรงๆ การเล่นกีฬา ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือบางครั้งอาจมาจากการรักษาโรคอื่นๆ เช่น การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยการฉายแสง UVA ก็มีผลทำให้เกิดกระแดดได้เช่นกัน

วิธีการรักษากระ รักษากระอย่างไร ?

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดกระ

    • แสงแดด คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกระ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกันสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหมวก กางร่มหรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ช่วยป้องกันรังสีUV โดยควรมีค่า SPF 30 Pa+++ ขึ้นไป
    • ยาบางชนิด ที่มีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาคุมกำเนิด ก็ส่วนทำให้เกิดกระได้ ดังนั้นอาจลองปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงทางเลือกอื่นๆ ในการคุมกำเนิด
  2. ทายารักษากระ

    การรักษากระ สามารถทำได้ด้วยการทายา เช่น AHA (กรดผลไม้) หรือยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่าและกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวใหม่ แต่วิธีนี้อาจเห็นผลช้า โดยต้องทาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-6 เดือนจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้หลายคนที่มีปัญหาเรื่องกระ หรือฝ้า อาจเคยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือรักษาฝ้าที่มีส่วนผสมของสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง ทำให้ใบหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ครีมหน้าขาว” แต่ผลข้างเคียงก็ร้ายแรงมาก เช่น รู้สึกระคายเคืองต่อผิว เกิดจุดด่างขาวที่ผิวหน้า ผิวหน้าดำ เกิดตุ่มนูนสีดำบริเวณที่ทายาบ่อยๆ เช่น โหนกแก้มและสันจมูก และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หายได้อีกด้วย และยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบันยาชนิดนี้ถูกสังห้ามนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่ายทั่วไป
  3. รักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

    เทคโนโลยีการแพทย์มีหลากหลายรูปแบบที่ช่วยบรรเทา รักษากระบนใบหน้าให้จางลงได้ วิธีที่เป็นที่นิยมคือการใช้เลเซอร์เพื่อทำให้กระแลดูจางลง การรักษาแบบนี้จะเป็นการยิงคลื่นแสงความยาวคลื่นต่างๆ ลงไปถึงชั้นผิวด้านใน เพื่อให้ผิวซ่อมแซมตัวเอง พร้อมกับผลัดเซลล์ผิวได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากการทำเลเซอร์ก็ยังมีวิธีรักษากระรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำทรีตเมนท์ การฉีดยาเมโส เป็นต้น โดยวิธีการรักษากระนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แหล่งอ้างอิง โรงพยาบาลผิวหนังอโศก